ทฤษฎีพหุปัญญาของ ดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์

ทฤษฎีพหุปัญญาของ ดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์

ทฤษฎีพหุปัญญาของ ดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์


หากพูดถึงคำว่า “อัจฉริยภาพ” หรือ “ความฉลาด” สิ่งที่หลายๆคนนึกถึงเป็นอันดับแรกก็คือ แบบทดสอบวัด IQ ที่สามารถบ่งบอกคะแนนของสติปัญญาของผู้ทดสอบ และโดยปกติคำว่าอัจฉริยภาพบ่อยครั้งจะถูกตีความไปในเรื่องศักยภาพของสมองในมุมของการใช้ปัญญาเท่านั้น หลายคนมองว่าเป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิดและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ 

อย่างไรก็ตามไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมานี้เองที่ “อัจฉริยภาพ” ถูกตีความในมุมมองที่ต่างออกไป หนึ่งในทฤษฎีที่มีชื่อเสียงก็คือ ทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligences) ของ ดร.ฮาเวิร์ด การ์ดเนอร์

ทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligences) ทำลายข้อจำกัดของการตีความในเรื่องอัจฉริยภาพในมุมมองของนักจิตวิทยาที่มีอยู่ก่อนหน้า ดร.การ์ดเนอร์ ได้ตีพิมพ์หนังสือที่มีชื่อว่า "Frames of Mind: The Theory of Multiple Intelligences” ที่กล่าวถึงความหลากหลายของ “อัจฉริยภาพ” ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 8 รูปแบบ และถูกเพิ่มมาอีก 1 รูปแบบคือ ปัญญาด้านอัตถิภาวนิยม ("Existentialist Intelligence”)

ดร.การ์ดเนอร์กล่าวว่า อัจฉริยภาพไม่ได้มีเฉพาะในเรื่องของสติปัญญาเท่านั้นแต่ยังมีอีกหลายประเภทเช่น ดนตรี การเข้าใจตนเอง มิติสัมพันธ์ และ ภาษา เป็นต้น

ทุกๆคนล้วนแล้วแต่มีความเป็นอัจฉริยภาพในรูปแบบของตน เช่น ผู้ที่มีอัจฉริยภาพด้านดนตรี ก็จะมีความถนัดเฉพาะตัวเรื่องดนตรีที่เหนือกว่าผู้ที่มีอัจฉริยภาพด้านภาษา, ธรรมชาติวิทยา หรือมิติสัมพันธ์

ทฤษฎีของ ดร.การ์ดเนอร์ ถูกวิจารย์โดยนักจิตวิทยาและนักการศึกษาว่าเป็นการตีความที่กว้างเกินไป และอธิบายความสามารถและลักษณะเฉพาะตนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้ทฤษฎียังถูกวิจารณ์ว่าไม่มีงานวิจัยรองรับที่เพียงพอ

อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีได้ถูกนำไปใช้ในแวดวงการศึกษาอย่างกว้างขวาง นักการศึกษาหลายท่านได้นำไปต่อยอดและผนวกกับทฤษฎีการสอนและนำไปใช้จริงในห้องเรียน

หากเราได้ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีพหุปัญญา จะช่วยให้สามารถเข้าใจจุดแข็งของตัวเอง อ่านบทความนี้ต่อไป ท่านจะเข้าใจคุณลักษณะของอัจฉริยภาพด้านต่างๆ แต่ถ้าหากอ่านจบแล้วยังไม่แน่ใจ สามารถทำแบบทดสอบเพื่อค้นหา “อัจฉริยภาพ” ของคุณได้




1.ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์

จุดแข็ง: การตัดสินใจและการมองภาพเชิงพื้นที่

ผู้ที่มีจุดแข็งด้านนี้จะมีความสามารถในการจินตนาการรูปทรง นอกจากนี้ยังแม่นยำในเรื่องของทิศทาง เช่นอ่านแผนที่ อ่านชาร์ต ดูภาพเคลื่อนไหวและรูปภาพ


ลักษณะของผู้ที่มีปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ ประกอบด้วย

ชอบอ่านและเขียน

ถนัดต่อจิ๊กซอร์ เลโก้

ตีความภาพ กราฟ แผนภูมิได้ดี

ชอบงานศิลปะและการวาดภาพระบายสี

จดจำรูปแบบและรูปร่างได้อย่างง่ายดาย


อาชีพที่สอดคล้องกับศักยภาพ

สถาปนิก

ศิลปิน

วิศวกร



2. ปัญญาด้านภาษา

จุดแข็ง: การใช้คำ การเรียนรู้ภาษา การเขียน

ผู้ที่มีความสามารถด้านนี้จะสามารถใช้คำได้ดีทั้งการพูดและการเขียน ความสามารถที่โดดเด่นคือ การเขียนบรรยายเรื่องราว การจดจำข้อมูล และการอ่าน


ลักษณะของผู้ที่มีปัญญาด้านภาษา ประกอบด้วย

สามารถจดจำข้อมูลจากการฟังและการอ่านได้ดี

สามารถอธิบายขยายความได้เก่ง

มีความสามารถในการสอดแทรกอารมณ์ขันเมื่อเล่าเรื่องราวต่างๆ


อาชีพที่สอดคล้องกับศักยภาพ

นักเขียน นักประพันธ์ นักข่าว

ทนายความ

อาจารย์



3. ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์

จุดแข็ง: การวิเคราะห์ปัญหา คณิตศาสตร์

ผู้ที่มีความสามารถด้านนี้จะถนัดการให้เหตุผล จดจำรูปแบบ การวิเคราะห์ปัญหาเชิงตรรกะ  มีความโดดเด่นในเรื่องตัวเลข ความสัมพันธ์ และรูปแบบ


ลักษณะของผู้ที่มีปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย

มีความชำนาญในการแก้ปัญหา

ชอบที่จะคิดเชิงนามธรรม

ชอบทำการทดลองวิทยาศาสตร์

ชอบแก้โจทย์คณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน


อาชีพที่สอดคล้องกับศักยภาพ

นักวิทยาศาสตร์

นักคณิตศาสตร์

โปรแกรมเมอร์

วิศวกร

นักบัญชี



4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว

จุดแข็ง: การเคลื่อนไหวร่างกาย การควบคุมกล้ามเนื้อ 

ผู้ที่มีความสามารถนี้ สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ดี ควบคุมและสั่งงานกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังสามารถประสานงานระหว่างมือและสายตาได้อย่างดีเยี่ยม มีความคล่องแคล่วและกระฉับกระเฉง


ลักษณะของผู้ที่มีปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ประกอบด้วย

เล่นกีฬาและเต้นเก่ง

ชอบสร้างสิ่งของหรือผลงานโดยการใช้มือ

ควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกายได้ดีเยี่ยม

จดจำและเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ


อาชีพที่สอดคล้องกับศักยภาพ

นักเต้น

นักแสดง

นักกีฬา

จิตรกร

นักประดิษฐ์



5. ปัญญาด้านดนตรี

จุดแข็ง: จังหวะและดนตรี

ผู้ที่มีความสามารถด้านนี้จะถนัดการจับจังหวะ รูปแบบของเสียง มีความสุนทรีย์ด้านดนตรีสูง สามารถประพันธ์ดนตรี รวมถึงแสดงดนตรีได้ดีเยี่ยม


ลักษณะของผู้ที่มีปัญญาด้านดนตรี ประกอบด้วย

ชอบร้องเพลงและเล่นดนตรี

จับจังหวะ โทน และรูปแบบดนตรีได้เก่ง

จดจำบทเพลงและทำนองเพลงได้รวดเร็ว

สามารถเรียนรู้และพัฒนาทฤษฎีทางดนตรีได้ไว


อาชีพที่สอดคล้องกับศักยภาพ

นักดนตรี

นักประพันธ์

นักร้อง

ครูสอนดนตรี



6. ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์

จุดแข็ง: เข้าใจผู้อื่น ความสัมพันธ์

ผู้ที่มีความสามารถด้านนี้จะมีความเข้าใจผู้อื่น และสร้างความสัมพันธ์ได้ดี นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการประเมินอารมณ์ความรู้สึก การตัดสินใจ และจุดประสงค์ของผู้คนรอบตัว


ลักษณะของผู้ที่มีปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์ ประกอบด้วย

สื่อสารกับผู้อื่นได้ดี

สื่อสารภาษากายได้ดี

มองเหตุการณ์ในมุมที่แตกต่างจากผู้อื่น

สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น

สามารถคลี่คลายความขัดแย้งได้ดี


อาชีพที่สอดคล้องกับศักยภาพ

นักจิตวิทยา

นักปรัชญา

ที่ปรึกษา

นักขาย

นักการเมือง



7. ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง

จุดแข็ง: เข้าใจตนเอง พิจารณาตนเอง

ผู้ที่มีความสามารถด้านนี้จะสามารถควบคุมสภาวะอารมณ์ ความรู้สึก และแรงจูงใจ ของตนเอง นอกจากนี้ยังสามารถพิจารณาตนเอง ฝันกลางวันอยู่กับตัวเอง หนีออกจากความสัมพันธ์กับผู้อื่น และประเมินจุดแข็งจุดอ่อนของตนเองได้


ลักษณะของผู้ที่มีปัญญาด้านความเข้าใจตนเองประกอบด้วย

วิเคราะห์จุดแข้งและจุดอ่อนของตเองได้ดี

ชอบวิเคราะห์ทฤษฎีและแนวคิดต่างๆ

ระวังตนเองได้ดีเยี่ยม

เข้าใจแรงจูงใจและความรุ้สึกของตัวเองได้อย่างชัดเจน


อาชีพที่สอดคล้องกับศักยภาพ

นักปรัชญา

นักเขียน

นักทฤษฎี

นักวิทยาศาสตร์



8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา

จุดแข็ง: ค้นหารูปแบบและความสัมพันธ์ของธรรมชาติ

ผู้ที่มีความสามารถด้านนี้จะสนใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชอบเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์ชนิดต่างๆ มีความอ่อนไหวในเรื่องธรรมชาติ รวมไปถึงการทำลายสิ่งแวดล้อม


ลักษณะของผู้ที่มีปัญญาด้านความเข้าใจตนเองประกอบด้วย

สนใจศึกษาวรรณศาสตร์ ชีววิทยา และสิ่งมีชีวิตต่างๆ

เก่งในด้านจำแนกและเรียบเรียงข้อมูล

ชอบตั้งแคมป์ ทำสวน ปีนเขา และพจญภัย


อาชีพที่สอดคล้องกับศักยภาพ

นักชีววิทยา

นักอนุรักษ์

ชาวสวนชาวไร่

บทความที่เกี่ยวข้อง