ประวัติศาสตร์การศึกษาศาสตร์เส้นลายผิว
ถ้าจะนับย้อนไปศาสตร์เส้นลายผิว มีการศึกษาและการนำมาใช้ประโยชน์ในหลากหลายสาขา เช่น มานุษยวิทยา พันธุศาสตร์ นิติเวชศาสตร์ ฯลฯ แต่จะขอยกรายละเอียดเฉพาะการศึกษาที่สำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลายนิ้วมือและสมองไว้ดังนี้
John E. Purkinje (1787-1869) นักสรีรวิทยาชาวเชคโกสโลวาเกียและอาจารย์ด้านกายวิภาคแห่งมหาวิทยาลัย Breslau ได้ตีพิมพ์ผลงานในปี 1823 โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับทฤษฎีการแบ่งลายนิ้วมือออกเป็น 9 แบบ ตามรูปร่างและลักษณะของลายเส้น
Sir Francis Galton (1822-1911) สำหรับนักวิทยาศาสตร์ท่านนี้มีความพิเศษอยู่สักนิด เพราะท่านเป็นนักมานุษยวิทยาผู้ศึกษาเรื่องลายนิ้วมืออย่างจริงจังและลึกซึ้ง เป็นผู้ที่คิดค้นวิธีการจำแนกลายนิ้วมือด้วยการตั้งชื่ออย่างเป็นระบบตามหลักทางวิทยาศาสตร์ ท่านยังได้พิสูจน์ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ว่าลายนิ้วมือของมนุษย์นั้นไม่มีทางที่จะเปลี่ยนแปลงได้ และจะติดตัวเราไปตลอดชีวิต
Harris Hawthorne Wilder (1864-1928) นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันคนแรกที่ศึกษาด้านศาสตร์เส้นลายผิว เป็นผู้วางรากฐานการศึกษาเรื่องลายนิ้วมือในเชิงสัณฐานวิทยา และศึกษาวิจัยเรื่องลายนิ้วมือในเชิงการกระจายตัวตามชาติพันธุ์ด้วย ท่านเป็นอาจารย์และเป็นนักวิจัยที่มีชื่อเสียงของ Smith College โดยมีผลงานที่โดดเด่น เช่น History of the Human Body Personal Identification A Laboratory Manual of Anthropometry The Pedigree of the Human Race เป็นต้น
Harold Cummins (1894-1976) บิดาแห่งศาสตร์เส้นลายผิว หนึ่งในสมาชิกของ American Morphological Society ท่านศึกษาถึงความผิดปกติหรือสภาพผิดปกติของโครโมโซมที่แสดงออกทางลายนิ้วมือ และค้นพบว่าสมองกับลายนิ้วมือมีความสัมพันธ์ต่อกัน ท่านให้ความสนใจศึกษาความรู้ด้านนี้อย่างจริงจัง จนได้สมญานามว่า"บิดาแห่งศาสตร์เส้นลายผิว" และผลงานการวิจัยของท่านหลายฉบับได้รับการยอมรับในวงการวิทยาศาสตร์และการแพทย์ว่า การวิเคราะห์ลายนิ้วมือสามารถบ่งบอกถึงอาการผิดปกติของโครโมโซมมนุษย์ที่มีมาโดยกำเนิดได้ ซึ่งหนึ่งในผลงานชิ้นสำคัญของท่านคือ การค้นพบความเชื่อมโยงของลายนิ้วมือกับอาการความผิดปกติในกลุ่มดาวน์ซินโดรม(วิจัยร่วมกับ Charles Midlo) โดยการวิจัยของท่านนั้นได้ศึกษาเรื่องลายนิ้วมือในลักษณะบูรณาการ คือ ศึกษาทั้งในด้านมานุษยวิทยา พันธุกรรมศาสตร์ และ คัพภวิทยา(การศึกษาการเจริญของสิ่งมีชีวิตก่อนคลอดหรือออกจากไข่) และต้องใช้เวลาศึกษาวิจัยและพิสูจน์กว่า 20 ปีจึงเป็นที่ยอมรับในภายหลังท่านยังได้รับเกียรติให้เป็น ศาสตราภิชานด้านกายวิภาคศาสตร์ของ Tulane University School of Medicine และประธานกิตติมศักดิ์ของ International Dermatoglyphics Association อีกด้วย
Lionel Sharples Penrose (1898-1972) จิตแพทย์ละนักพันธุศาสตร์ชาวอังกฤษท่านนี้ ได้ศึกษากลุ่มผู้มีความผิดปกติของสมองโดยกำเนิดเป็นเวลาหลายปี และค้นพบว่าลายนิ้วมือสามารถบ่งบอกอาการบกพร่องทางสมองแต่กำเนิดได้ ในปี ค.ศ.1965 ท่านยังดำรงตำแหน่งประธานแห่ง Kennedy-Galton Centre ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยด้านพันธุศาสตร์และสมอง ต่อมาได้ขยายฐานการวิจัยไปยังด้านศาสตร์เส้นลายผิวด้วย
Sarah Holt นักวิจัยจากสถาบันเดียวกัน ท่านศึกษาเกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรมที่มีสาเหตุมาจากโครโมโซมกับลักษณะแบบแผนของลายเส้นผิวหนังในแง่ของแบบแผนการถ่ายทอดทางพันธุกรรม มีผลงานตีพิมพ์ออกมาในปี 1968 ชื่อว่า 'The Genetics of Dermal Ridges'
Dr. Alexander Rodewald นายแพทย์ชาวเยอรมันได้กล่าวว่า การตรวจลายเส้นบนผิวหนังสามารถบ่งชี้ถึงโรคต่างๆได้แม่นยำถึง 90% และที่ประเทศเยอรมนีมีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยวิเคราะห์หรือประเมินโอกาสเกิดโรคในเด็กแรกเกิด ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง ฯลฯ มีความน่าเชื่อถือกว่า 80% และในหลายมหาวิทยาลัยของเยอรมนีก็มีบรรจุเรื่องนี้ไว้ในหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิตด้วย
จากข้อมูลจะพบว่าในการศึกษาช่วงปี ค.ศ.1894 ถือเป็นจุดเปลี่ยนในการศึกษาเรื่องลายนิ้วมือ เพราะได้มีการค้นพบถึงความเชื่อมโยงระหว่างสมองและลายนิ้วมือ ทำให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ในแง่ต่างๆอีกมากมาย เพราะในภายหลังมีการบูรณาการความรู้ทั้งด้านสถิติ ประสาทวิทยา และทฤษฎีทางการศึกษา เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ลายนิ้วมือเพื่อบงชื้ถึงการทำงานของสมองอันจะนำไปสู่การระบุลักษณะนิสัยบุคลิกภาพและศักยภาพได้
ทั้งในปัจจุบันก็ยังมีการศึกษาถึงเรื่องลายนิ้วมืออยู่อย่างต่อเนื่อง ถ้าจะนับผลงานวิจัยเกี่ยวกับความรู้ด้านนี้ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันจะพบว่ามีงานที่ตีพิมพ์แล้วกว่า 7,000 ฉบับด้วยกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง
7 อุปนิสัย พัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง
นิสัยที่ดีทั้ง 7 ประการ จากหนังสือ “7 Habits for Highly Effe..
อ่านเพิ่มเติม ⟶16 วิธีพัฒนา EF ช่วยให้ลูกเก่ง ฉลาด เสริมสร้างทักษ..
16 วิธีที่จะทำให้น้องๆ พัฒนา Executive Function (EF) ห..
อ่านเพิ่มเติม ⟶EFคืออะไร!!ทำไมนี้นักวิชาการระดับโลกชี้ว่า สำคัญกว..
ทักษะ EF คือ กระบวนการทางความคิดในสมองส่วนหน้า ที่เกี่..
อ่านเพิ่มเติม ⟶